บริการออกแบบ

3.4 การจัดทำแบบขออนุญาตก่อสร้าง Concept Drawing

ภาพในจินตนาการที่จับต้องได้

พร้อมราคาต้นทุนที่ชัดเจน

การก่อสร้างอาคารไม่สามารถเริ่มต้นได้โดยไม่มีแบบขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้โครงการเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย โครงสร้าง สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม การจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง(Concept Drawings) เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง และครบถ้วน เป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านควรต้องศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อให้โครงการได้รับอนุมัติและสามารถดำเนินการก่อสร้างได้โดยไม่เกิดปัญหาตามมา

WHY US

ทีมวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการจัดการงานก่อสร้าง และออกแบบอาคาร ให้คอนเซาท์ก่อสร้างได้ช่วยดูแลบ้านอันเป็นที่รักของคุณ.

3.4 การจัดทำแบบขออนุญาตก่อสร้าง Concept Drawing

รับจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง

แบบขออนุญาตก่อสร้าง Concept Drawing มีองค์ประกอบตามกฎหมายที่ต้องพิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อให้หน่วยงานออกใบอนุญาตก่อสร้างให้กับโครงการ ถึงจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้จริง

การก่อสร้างอาคารไม่สามารถเริ่มต้นได้โดยไม่มีการขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้โครงการเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย โครงสร้าง สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม การจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง(Concept Drawings) เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง และครบถ้วน เป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านควรต้องศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อให้โครงการได้รับอนุมัติและสามารถดำเนินการก่อสร้างได้โดยไม่เกิดปัญหาตามมา

ความสำคัญของการจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง

1. เป็นเอกสารหลักในการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ใช้ในประกอบคำขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคาร
2. ช่วยให้โครงการเป็นไปตามมาตรฐาน ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค และการใช้พื้นที่ตามข้อกำหนดผังเมือง และกฎหมายควบคุมอาคาร
3. ป้องกันปัญหาทางกฎหมายในอนาคต ลดความเสี่ยงในการถูกสั่งรื้อถอน หรือถูกปรับกรณีฝ่าฝืนกฎหมาย
4. ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดสำหรับวิศวกร และผู้รับเหมา

แบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ต้องมีอะไรบ้าง

1. แบบสถาปัตยกรรม

รายละเอียดที่ต้องมี
1.1 แผนผังบริเวณที่ตั้งอาคาร – แสดงตำแหน่งอาคารบนแผนที่ ตำแหน่งอาคารในที่ดิน รวมถึงทางเข้าออกถนน ทางระบายน้ำ และพื้นที่โดยรอบ รวมถึงระยะร่น ความกว้างถนน/คู/คลอง/แม่น้ำ พื้นที่ว่าง และพื้นที่น้ำซึมผ่าน
1.2 แบบแปลนอาคาร – แสดงรายละเอียดของการใช้พื้นที่ภายในอาคาร และระยะต่างๆ แต่ละชั้น
1.3 รูปด้านอาคาร – แสดงลักษณะภายนอกของอาคาร และความสูงของอาคารทุกด้าน
1.4 รูปตัดอาคาร  – แสดงรายละเอียดโครงสร้างภายในของอาคาร

2. แบบโครงสร้าง

รายละเอียดที่ต้องมี
2.1 แผนผังโครงสร้างฐานราก – แสดงตำแหน่ง และรายละเอียดฐานราก และเสาเข็ม
2.2 แบบโครงสร้างเสา คาน และพื้น – แสดงตำแหน่ง และรายละเอียดของโครงสร้างรับน้ำหนักของอาคาร
2.3 รายละเอียดการเสริมเหล็กโครงสร้าง  – แสดงการจัดวางเหล็กเสริมในส่วนต่างๆ ของโครงสร้าง

3. แบบระบบวิศวกรรม 

รายละเอียดที่ต้องมี
3.1 แบบระบบไฟฟ้า – แสดงตำแหน่งและขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เมน เบรกเกอร์ และสายไฟ
3.2 แบบระบบประปา และสุขาภิบาล  – แสดงตำแหน่ง และขนาดท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง และระบบบำบัดน้ำเสีย
3.3 แบบระบบปรับอากาศและระบายอากาศ – แสดงตำแหน่งเครื่องปรับอากาศ และช่องระบายอากาศ

4. แบบรายละเอียด และรายการคำนวณ 

รายละเอียดที่ต้องมี

4.1 รายละเอียดวัสดุ และโครงสร้าง – ระบุชนิดของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
4.2 รายการคำนวณโครงสร้าง  – คำนวณความแข็งแรงของอาคารตามหลักวิศวกรรม(ประกอบแบบโครงสร้าง)
4.3 รายการประกอบแบบ – รายการระเบียบความปลอดภัย ข้อกำหนด และมาตรฐานวัสดุต่างๆ ในแบบ

ขั้นตอนการจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง

1️. เจ้าของโครงการว่าจ้างสถาปนิก และวิศวกร – เพื่อวิเคราะห์ และออกแบบอาคารให้เป็นตามความต้องการของเจ้าของโครงการ และจัดทำแบบขออนุญาตก่อสร้างให้เป็นไปตามกฎหมาย
2️. ตรวจสอบข้อกำหนดของกฎหมายท้องถิ่น – เช่น ข้อกำหนดผังเมือง, ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม, กฎหมายควบคุมอาคาร เป็นต้น
3️. ดำเนินการออกแบบสถาปัตยกรรม และโครงสร้าง – เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้พื้นที่ ความปลอดภัยของอาคาร และกฎหมาย
4️. จัดทำแบบระบบวิศวกรรม – รวมถึงไฟฟ้า ประปา และสุขาภิบาล เพื่อให้แบบก่อสร้างสมบูรณ์
5️. รวบรวมเอกสารประกอบการขออนุญาต – ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารตามระเบียบ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกส่วนถูกต้อง และเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6️. ยื่นขออนุญาตก่อสร้างที่หน่วยงานท้องถิ่น – เช่น สำนักงานเขต, เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
7️. รอการอนุมัติและแก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี) – หน่วยงานท้องถิ่นอาจมีข้อเสนอแนะหรือให้แก้ไขแบบบางส่วน โดยปกติจะมีกรอบระยะเวลา ไม่เกิน 45 วัน
8️. ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างได้

ข้อควรระวังในการจัดทำแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง

1. อย่าใช้แบบ หรือการออกแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน – แบบต้องจัดทำโดย สถาปนิก หรือวิศวกรที่มีความรู้ด้านกฎหมายควบคุมอาคาร และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพราะจำเป็นต้องมีการลงนามรับรองตามกฎหมาย
2. ตรวจสอบความถูกต้องของกฎหมาย – ต้องเป็นไปตาม กฎหมายควบคุมอาคาร, พ.ร.บ. ผังเมือง, และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
3. ตรวจสอบการใช้ที่ดิน – บางพื้นที่อาจมีข้อกำหนดเรื่อง พื้นที่ก่อสร้าง, ระยะร่น, หรือข้อจำกัดอื่นๆ บางข้อที่แตกต่างไปตามพื้นที่
4. ป้องกันปัญหาล่าช้า – ควรตรวจสอบรายละเอียดทุกขั้นตอนก่อนยื่นขออนุญาต เพื่อป้องกันการแก้ไขซ้ำซ้อน

ประโยชน์ของการจัดทำแบบขออนุญาตก่อสร้างที่ถูกต้อง

1. ลดความล่าช้าในการขออนุญาตก่อสร้าง – ทำให้ได้รับใบอนุญาตรวดเร็ว ตามขั้นตอน
2. ช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน – ป้องกันปัญหาโครงสร้าง และเพิ่มความปลอดภัย
3. ช่วยลดต้นทุน และป้องกันความผิดพลาด – ลดความสูญเสียจากการก่อสร้างผิดพลาด ไม่ได้มาตรฐาน
4. เพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าของโครงการ – ทำให้โครงการเป็นไปตามแผนที่กำหนด ป้องกันปัญหาการถูกระงับการก่อสร้าง

สรุป

การจัดทำแบบสำหรับยื่นขออนุญาตก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้โครงการก่อสร้างเป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานที่กำหนด เจ้าของโครงการควรเลือกใช้ สถาปนิก และวิศวกรที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยออกแบบ และจัดทำแบบให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับข้อกำหนดของหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง

แถมตอนนี้มีบริการ ยื่นขออนุญาตสร้างบ้านแบบออนไลน์ บ้านพักอาศัยไม่เกิน 3 ชั้น พื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร

การขอใบอนุญาตก่อสร้างผ่านระบบออนไลน์
กรุงเทพมหานครเปิดให้บริการ “การขอใบอนุญาตก่อสร้างผ่านระบบออนไลน์” สำหรับบ้านขนาดไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร และไม่เกิน 5 ชั้น ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 67 เป็นต้นไป

นอกจากนี้เรายังแนะนำให้ดูคลิป ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง “ใครต้องเซ็นรับรองการควบคุมงาน” เพิ่มด้วยเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ได้ที่เพจเฟซบุ๊ค วิศวะการันตี

หรือติดตามพวกเราได้ที่ : เพจ : วิศวะการันตี

อยากรู้จักเรา : เราเป็นใคร?

#ขออนุญาตก่อสร้าง #จัดทำแบบก่อสร้าง #กฎหมายควบคุมอาคาร #แบบก่อสร้างมาตรฐาน #การขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน #แบบก่อสร้างบ้าน #วิศวกรคอนเซาท์ #ควบคุมงานก่อสร้าง

รูปตัวอย่างงานออกแบบของเรา