การตรวจงานขัดสีผนัง และการตรวจการติดกระเบื้องผนัง เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมทั้งความสวยงาม และคุณภาพของผนังภายในอาคาร หากดำเนินการอย่างถูกต้อง และได้มาตรฐาน จะช่วยให้พื้นผิวมีความเรียบเนียน สวยงาม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน คอนเซาท์ หรือที่ปรึกษางานก่อสร้างมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบทั้งในด้านของคุณภาพวัสดุ เทคนิคการติดตั้ง และมาตรฐานงานขัดสีผนังและกรุกระเบื้อง เพื่อให้มั่นใจว่างานตกแต่งผนังมีคุณภาพและตรงตามแบบก่อสร้างที่กำหนดไว้
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง บ้านหรืออาคารจะงดงามได้ก็ด้วยการตกแต่งพื้นผิวที่ลงตัว โดยเฉพาะผิวผนัง”
งานขัดผิวผนัง
มาตรฐาน และข้อกำหนดในการตรวจสอบงานขัดสีผนัง
- วัสดุฉาบสกิม หรือตกแต่งพื้นผิว ให้ใช้วัสดุตามเกรด หรือตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
- พื้นผิวเรียบเนียนเสมอกัน ไม่ขรุขระ ได้ดิ่ง-ฉาก-แนว-มุม
แนวทางการตรวจสอบงานขัดผิวผนัง
1. ตรวจสอบความเรียบเนียนของพื้นผิว
- ใช้สายตาตรวจสอบในระยะประชิด และใช้ไฟส่องจากด้านข้างเพื่อดูว่าพื้นผิวเรียบหรือไม่
- ลูบพื้นผิวด้วยมือเพื่อตรวจสอบว่าผนังเรียบเสมอกัน และไม่มีรอยขรุขระ
2. ตรวจสอบความสะอาดของพื้นผิว
- ใช้ผ้าเช็ดพื้นผิว หรือใช้เทปกาวติดแล้วดึงออก หากมีฝุ่นติดออกมา แสดงว่าพื้นผิวยังไม่สะอาดเพียงพอ
3. ตรวจสอบการขัดผิวที่สม่ำเสมอ
- ตรวจสอบว่าพื้นผิวได้รับการขัดจนเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีรอยเส้นจากเครื่องมือขัด
- ตรวจสอบว่าพื้นผิวไม่มีรอยโป๊วที่หนาเกินไป หรือบางเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการล่อนได้
งานกรุกระเบื้องผนัง
มาตรฐาน และข้อกำหนดในการตรวจสอบงานกรุกระเบื้องผนัง
- วัสดุปูพื้นผิว ให้ใช้วัสดุตามเกรด หรือตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
- กระเบื้องผนัง ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ สเปค และขนาดเดียวกันตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง
แนวทางการตรวจการติดกระเบื้องผนัง
1. ตรวจสอบแนวราบ และแนวดิ่ง
- ใช้ระดับน้ำ หรือเครื่องมือวัดแนวฉาก และระดับแบบดิจิตอล เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเบื้องเรียงตัวเป็นแนวตรง
- ตรวจสอบระยะห่างระหว่างกระเบื้องให้ได้มาตรฐานเท่ากันทุกแผ่น
- ควรให้ผู้รับเหมาใช้ spacer ช่วยจัดแนวในการปูกระเบื้อง เพื่อให้งานมีมาตรฐาน
2. ตรวจสอบความเรียบของพื้นผิว
- ใช้ไม้เซาะร่อง หรือสามเหลี่ยมยาวฉาบปูนแนบกับผนังแล้วดูว่ามีช่องว่างหรือไม่
- ลูบกระเบื้องด้วยมือเพื่อตรวจสอบว่ามีแผ่นใดนูนหรือจมกว่าปกติ
3. ตรวจสอบการยึดเกาะของกระเบื้อง
- เคาะเบาๆ ที่พื้นผิวกระเบื้องด้วยด้ามไม้ ถ้าพบเสียงโปร่ง อาจแสดงว่ากระเบื้องไม่ได้ยึดติดกับผนังดีพอ
4. ตรวจสอบร่องยาแนว และการทำความสะอาด
- ร่องยาแนวต้องเต็มแนวสม่ำเสมอ ไม่มีช่องว่างหรือแตกร้าว
- ต้องไม่มีคราบปูนกาว หรือคราบยาแนวหลงเหลือบนผิวกระเบื้อง
- ยาแนวต้องสะอาด ปราศจากเศษวัสดุปนเปื้อน
5. ตรวจสอบการกันน้ำ (สำหรับห้องน้ำ และพื้นที่เปียก)
- ทดสอบการไหลของน้ำเพื่อดูว่ามีรอยซึม หรือสะสมที่ขอบกระเบื้องหรือไม่
- ตรวจสอบขอบยาแนวให้แน่นหนาเพื่อป้องกันความชื้นแทรกซึม
สรุป
การตรวจสอบงานขัดสีผนัง และการกรุกระเบื้องโดยคอนเซาท์ก่อสร้างเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การตกแต่งภายในอาคารเป็นไปตามมาตรฐาน ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น สีลอกล่อน กระเบื้องหลุดร่อน หรือแนวกระเบื้องไม่ตรง นอกจากนี้ ยังช่วยให้เจ้าของโครงการมั่นใจได้ว่างานก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่กำหนด และมีคุณภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน การมีคอนเซาท์ หรือที่ปรึกษางานก่อสร้างเข้ามาช่วยควบคุ มและตรวจสอบงานจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อให้มั่นใจว่างานขัดสีผนัง และกรุกระเบื้องผนังจะมีความสวยงาม ทนทาน และเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด
เราแนะนำคลิปเพิ่มเติม >>> ความสำคัญของ CM หรือคอนเซาท์ในงานก่อสร้าง ได้ที่เพจเฟซบุ๊ค วิศวะการันตี
หรือติดตามพวกเราได้ที่ : เพจ : วิศวะการันตี
อยากรู้จักเรา : เราเป็นใคร?