062-162-9144 ทำการทุกวัน เวลา 9.00 - 20.00 น.

10 สิ่งที่ต้องมีในสัญญาก่อสร้าง

สิ่งที่ต้องมีในสัญญาก่อสร้าง ควรจะต้องระบุสิ่งเหล่านี้ไว้ในการทำสัญญาก่อสร้าง เป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยปกป้องทั้งเจ้าของโครงการ และผู้รับเหมา เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างราบรื่น การมีสัญญาที่ชัดเจน และครอบคลุมจะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหา หรือความขัดแย้งในภายหลัง การทำสัญญาที่ละเอียด และไม่กำกวมจะช่วยป้องกันการโกง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น วันนี้วิศวะจะมาชี้ให้เห็นถึง 10 รายละเอียดสำคัญที่ควรระบุในสัญญาก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจกับทุกฝ่าย และช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ
สิ่งที่ต้องมีในสัญญาก่อสร้าง

10 สิ่งที่ต้องมีในสัญญาก่อสร้าง

การทำสัญญาก่อสร้างต้องตรวจสอบให้ละเอียด ป้องกันการโกง และปัญหาที่จะเกิดในงานก่อสร้าง

การทำสัญญาก่อสร้างเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยปกป้องทั้งเจ้าของโครงการ และผู้รับเหมา เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างราบรื่น การมีสัญญาที่ชัดเจน และครอบคลุมจะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหา หรือความขัดแย้งในภายหลัง การทำสัญญาที่ละเอียด และไม่กำกวมจะช่วยป้องกันการโกง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น วันนี้วิศวะจะมาชี้ให้เห็นถึง 10 รายละเอียดสำคัญที่ควรระบุในสัญญาก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจกับทุกฝ่าย และช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ

และนี่คือ 10 สิ่งที่ต้องมีในสัญญาก่อสร้าง

1. รายละเอียดของผู้ว่าจ้าง
ควรระบุข้อมูลของ ผู้ว่าจ้าง อย่างครบถ้วน เช่น ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ เบอร์โทร พร้อมแนบเอกสารประกอบที่น่าเชื่อถือ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนนิติบุคคล สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ เพื่อยืนยันตัวตน

2. รายละเอียดของผู้รับจ้าง
เช่นเดียวกันกับผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาควรระบุชื่อ-นามสกุล ข้อมูลติดต่อ และเอกสารประกอบในการยืนยันตัวตน เพื่อให้มั่นใจในความโปร่งใส

3. รายละเอียดของการจ้างงาน
ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่จะดำเนินการ เช่น สร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น บนพื้นที่ขนาด 200 ตารางวา รวมถึงสถานที่ตั้งของโครงการ และอ้างอิงถึงแบบก่อสร้างประกอบสัญญาให้ชัดเจน

4. รายละเอียดค่าจ้าง
ค่าจ้างเป็นสิ่งสำคัญที่ควรระบุให้ชัดเจนในสัญญา โดยต้องระบุถึงยอดรวมของค่าก่อสร้างทั้งหมดที่ตกลงกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำงานตามข้อตกลงได้อย่างมั่นใจ

5. วิธีการจ่ายค่าจ้าง
การแบ่งจ่ายค่าจ้าง ควรเป็นไปตามความคืบหน้าของงาน โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินกี่งวด และแต่ละงวดจ่ายเมื่อใด เช่น งานดำเนินไปกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะสามารถเบิกงวดได้ เป็นต้น

6. รายละเอียดการประกันผลงาน
ระบุเงื่อนไข และระยะเวลาการประกันผลงาน เช่น การประกันโครงสร้างหรือระบบไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ควรมีการประกันระยะเวลาตามมาตรฐาน 1 ปีขึ้นไป

7. ระยะเวลาการดำเนินงาน
กำหนดระยะเวลาของการทำงาน เช่น เริ่มงานเมื่อไหร่ สิ้นสุดเมื่อใด รวมวันหยุดหรือไม่ รวมถึงวันทำงานจริงที่ใช้ไปทั้งหมดว่ากี่วัน

8. รายละเอียดค่าปรับในกรณีล่าช้า
หากการก่อสร้างไม่เสร็จตามกำหนด ควรระบุค่าปรับในกรณีที่มีการทำงานล่าช้า เช่น กำหนดค่าปรับวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะส่งมอบงาน หากงานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด

9. ข้อตกลงในการทำงาน
ระบุข้อกำหนดการทำงาน เช่น เวลาทำงาน วันหยุด และจำนวนคนงานที่ต้องใช้ในแต่ละงวดงาน หรือรายละเอียดพิเศษอื่นๆ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงที่ชัดเจน

10. เอกสารประกอบการทำสัญญา
แนบเอกสารที่จำเป็น เช่น แบบก่อสร้าง, B.O.Q. (รายการปริมาณและราคา), แผนงานก่อสร้าง, ข้อตกลงการชำระเงิน และเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการทำงาน

การตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาก่อสร้างอย่างละเอียดเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง รวมถึงการโกง และการทิ้งงาน การระบุเงื่อนไขทั้ง 10 ข้อข้างต้นในสัญญาก่อสร้างจะช่วยให้ทั้งเจ้าของโครงการ และผู้รับเหมาทำงานได้อย่างโปร่งใส และป้องกันการขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ในระดับหนึ่ง แต่หากการทำงานก่อสร้างมีรายละเอียดที่ซับซ้อนขึ้น หรือมีข้อตกลงพิเศษเฉพาะตัวของโครง การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง หรือดำเนินกระบวนการ Pre-Construction(ไว้จะเขียนให้อ่านทีหลัง) ก่อน ก็เป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันความเสียหายได้ดี และแบบนี้วิศวะ…ก็รับประกันด้วยครับ

หรือติดตามพวกเราได้ที่ : เพจ : วิศวะการันตี

อยากรู้จักเรา : เราเป็นใคร?

#วิศวะการันตี

#บริหารงานก่อสร้าง #ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
#คอนซัลท์ #ควบคุมงานก่อสร้าง
#สัญญาก่อสร้าง #ข้อตกลงในการก่อสร้าง
#BOQในงานก่อสร้าง #การป้องกันการโกงก่อสร้าง
#วิธีเขียนสัญญาก่อสร้าง

ต้องการความช่วยเหลือจากทีมเรามั้ยครับ?

บริการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง โดยวิศวกรมืออาชีพ ตรวจสอบขั้นตอนการก่อสร้างให้ตรงตามมาตรฐาน และลดความเสี่ยงจากการทำงานผิดพลาด

บทความที่เกี่ยวข้อง