บริการออกแบบ

3.3 การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

ภาพในจินตนาการที่จับต้องได้

พร้อมราคาต้นทุนที่ชัดเจน

การก่อสร้างไม่ใช่มีแค่การวางแผน และดำเนินงาน แต่ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง (Feasibility Study) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของโครงการ นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมองเห็นภาพรวม และประเมินโครงการได้อย่างรอบด้านก่อนลงมือปฏิบัติจริง

WHY US

ทีมวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการจัดการงานก่อสร้าง และออกแบบอาคาร ให้คอนเซาท์ก่อสร้างได้ช่วยดูแลบ้านอันเป็นที่รักของคุณ.

3.3 การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

ความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

การก่อสร้างไม่ใช่มีแค่การวางแผน และดำเนินงาน แต่ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง (Feasibility Study) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของโครงการ นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมองเห็นภาพรวม และประเมินโครงการได้อย่างรอบด้านก่อนลงมือปฏิบัติจริง

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้าง(Feasibility Study) คือ กระบวนการวิเคราะห์ และประเมินความคุ้มค่า ความเหมาะสม และโอกาสของโครงการก่อสร้าง โดยพิจารณาทั้งในด้านเทคนิค, เศรษฐศาสตร์, กฎหมาย, สังคม และสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันไปตามความจำเป็น และข้อบังคับของการก่อสร้างอาคารในแต่ละประเภทในแต่ละโครงการ  เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิดอุปสรรค และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการก่อสร้าง

ในบทความนี้ จะนำเสนอให้ท่านผู้สนใจได้ศึกษา และทำความเข้าใจในภาพรวมของหลักการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้าง โดยจะแยกแยะเป็นหัวข้อต่างๆ ตามหมวดหมู่ในการศึกษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าโครงการก่อสร้างทุกโครงการจำเป็นต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการครบทุกหัวข้อ ซึ่งแต่ละโครงการก็จะมีแนวทางการศึกษา หรือการเน้นหัวข้อที่จะต้องศึกษา แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ และข้อกำหนดของการจัดทำโครงการ

จากรูปภาพหน้าปกบทความเพื่อนๆน่าจะเห็นว่าตัวบ้านชั้นเดียวได้แยกฉีกขาดออกจากกัน เหตุเกิดจากฝนตกหนักจนทำให้เกิดดินสไลด์ด้านข้างคลองของตัวบ้าน เมื่อดินสไลด์ไปทั้งก้อน ตัวบ้านที่อยู่บนก้อนดินมวลใหญ่นี้ก็ถูกดึงตามไปด้วย จึงทำให้เกิดเหตุดังรูปภาพ

ความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง
ที่มารูปภาพประกอบบทความ การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

องค์ประกอบสำคัญในการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

1. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Feasibility)

การศึกษาด้านเทคนิคมุ่งเน้นไปที่ความเป็นไปได้ของการก่อสร้าง ซึ่งรวมถึง
1. ทำเล และสภาพแวดล้อม การตรวจสอบสภาพดิน การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้า น้ำประปา ถนน แม่น้ำ คูคลองสาธารณะ ฯลฯ)
2. การออกแบบ และเทคโนโลยีที่ใช้วิเคราะห์ความซับซ้อนของโครงการ วัสดุ และระบบก่อสร้างที่ต้องใช้ในโครงการ
3. ข้อจำกัดทางวิศวกรรม ตรวจสอบว่าพื้นที่ก่อสร้างรองรับวิธีการก่อสร้างในแบบที่ต้องการได้หรือไม่

การศึกษาข้อจำกัดทางวิศวกรรมเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้าง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การประเมินปัญหา และอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการออกแบบ และการก่อสร้าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1. การประเมินสภาพหรือคุณสมบัติของดิน และฐานราก  ตัวอย่างเช่น ถ้าพื้นที่ก่อสร้างมีดินอ่อนหรือมีความชื้นสูง อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการเสริมฐานราก เช่น การใช้ฐานรากเสาเข็ม หรือการใช้วัสดุเสริมกำลังดิน ซึ่งจะเพิ่มต้นทุน และเวลาในการก่อสร้าง หรือการก่อสร้างในบริเวณที่มีโอกาสเกิดดินสไลด์ ก็จะต้องพิจารณาการทำกำแพงกันดิน เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้างอาคาร เป็นต้น

3.2. ความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง โครงการที่มีการออกแบบให้รับน้ำหนักมาก ต้องมีการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้างให้สามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย เช่น การออกแบบระบบโครงสร้างเหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความแข็งแรงทนทาน

3.3. การเลือกใช้วัสดุ การเลือกใช้วัสดุต้องพิจารณาความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง อาจต้องใช้วัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อน เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม หรือคอนกรีตที่มีส่วนผสมเป็นพิเศษ หรือมีความหนาของคอนกรีตในการหุ้มเหล็กที่เพิ่มขึ้น

3.4. การจัดการระบบระบายน้ำ ในกรณีที่พื้นที่ก่อสร้างมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม จำเป็นต้องมีการออกแบบระบบระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างช่องทางระบายน้ำ หรือการติดตั้งปั๊มน้ำ หรือทำกำแพงกันน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น

3.5. การควบคุมเสียง และการสั่นสะเทือน สำหรับโครงการก่อสร้างที่อยู่ใกล้เคียง กับพื้นที่อาศัยหรือสาธารณะ ต้องมีการพิจารณาเรื่องการควบคุมเสียง และการสั่นสะเทือนจากการก่อสร้าง เช่น การใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ลดเสียง และสั่นสะเทือน หรือการติดตั้งแผงกันเสียง

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าข้อจำกัดทางวิศวกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างทุกโครงการ เพื่อให้สามารถวางแผน และดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

2. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน (Economic & Financial Feasibility)

โครงการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ควรต้องคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และต้องสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในโครงการลักษณะที่เป็นการลงทุนทางธุรกิจ
1. งบประมาณโครงการ คำนวณต้นทุนค่าก่อสร้าง วัสดุ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
2. แหล่งเงินทุน และกระแสเงินสด (Cash Flow) พิจารณาแหล่งที่มาของเงินทุน และความสามารถในการบริหารงบประมาณ
3. ความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI, IRR, Payback Period) ประเมินระยะเวลาคืนทุน และผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการก่อสร้าง

3. การวิเคราะห์ด้านกฎหมาย และข้อบังคับ (Legal Feasibility)

1. การขอใบอนุญาตก่อสร้าง ตรวจสอบกฎหมายควบคุมอาคาร และข้อบังคับของพื้นที่ผังเมืองรวม
2. กรรมสิทธิ์ที่ดิน ตรวจสอบสิทธิ์การใช้ที่ดิน และการเวนคืนที่ดิน(ถ้ามี)
3. กฎระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายผังเมือง ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม หรือกฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม

4. การวิเคราะห์ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม (Social & Environmental Feasibility)

1. ผลกระทบต่อชุมชน วิเคราะห์ว่าโครงการส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงหรือไม่
2. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พิจารณาการใช้ทรัพยากร พลังงาน และการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
3. มาตรการลดผลกระทบ เช่น ปฏิบัติตามแนวทาง หรือข้อกำหนดกฎหมาย การปลูกต้นไม้เพิ่ม การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

5. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

1. ความเสี่ยงทางด้านต้นทุน ต้นทุนก่อสร้างอาจสูงกว่าที่ประมาณการ
2. ความเสี่ยงด้านเวลา ปัญหาการส่งมอบวัสดุ ล่าช้า หรือปัญหาทางเทคนิค โครงการอาจเสร็จไม่ตรงเวลา
3. ความเสี่ยงทางกฎหมาย ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือกฎหมายควบคุมอาคาร หรือชุมชนใกล้เคียง
4. มาตรการลดความเสี่ยง มีแผนสำรองเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ

ประโยชน์ของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้าง

1. ช่วยให้ตัดสินใจลงทุน หรือใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมั่นใจ ลดโอกาสเกิดความเสี่ยงในการผิดพลาดด้านงบประมาณ
2. ลดต้นทุน และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากการวิเคราะห์อย่างรอบคอบจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
3. เพิ่มโอกาสความสำเร็จของโครงการ การวางแผนอย่างรอบคอบช่วยให้โครงการดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย
4. ทำให้โครงการเป็นไปตามมาตรฐาน กฎหมาย และข้อกำหนด ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น
5. สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน เจ้าของโครงการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ

สรุป

  การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ ก่อนการเริ่มต้นโครงการ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้มั่นใจว่าโครงการก่อสร้างมีโอกาสประสบความสำเร็จทั้งในด้านเทคนิค เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย สังคม และโดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ชุมชน ในโครงการที่เข้าข่ายบังคับให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านนั้นๆ ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างด้วย  ดังนั้น เจ้าของโครงการจึงควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในทุกมิติ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างมั่นคง ราบรื่น และเกิดประโยชน์สูงสุด 

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการไม่จำเป็นเฉพาะกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังสำคัญสำหรับการสร้างบ้านพักอาศัยทั่วไปด้วย โดยจะมีหัวข้อที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น การวิเคราะห์ทางวิศวกรรมเชิงเทคนิคก่อสร้าง การขอใบอนุญาตก่อสร้าง กฎหมาย และข้อบังคับพื้นที่ผังเมือง เป็นต้น แต่เนื่องจากการสร้างบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นโครงการที่ไม่ได้มีเป้าหมายเชิงพานิชย์ หรือส่งผลกระทบต่อชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กฎหมายจึงไม่ได้บังคับให้เจ้าของโครงการต้องทำรายงานการศึกษาส่งหน่วยงานก่อนทำการก่อสร้าง  

ทั้งนี้ในส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในหัวข้อที่จำเป็นต้องพิจารณาสำหรับโครงการสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ตัวของสถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบบ้านเอง จะเป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมายควบคุมอาคาร ผังเมือง และการวิเคราะห์เชิงเทคนิคก่อสร้างอยู่แล้ว จึงสามารถดำเนินการในส่วนนี้ให้เจ้าของบ้านได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย 

หรือติดตามพวกเราได้ที่ : เพจ : วิศวะการันตี

อยากรู้จักเรา : เราเป็นใคร?


#วิศวะการันตี

#ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ #FeasibilityStudy #วิเคราะห์โครงการก่อสร้าง #กฎหมายก่อสร้าง #วางแผนก่อสร้าง #ประเมินความเสี่ยงโครงการ

รูปตัวอย่างงานออกแบบของเรา